การดูแลคะน้าใบหยิก (ผักเคล) หลังการปลูก
การดูแลคะน้าใบหยิก หลังการปลูก เป็นขั้นตอนที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ปลูกหรือเกษตรกรมีผลกำไรเพิ่มขึ้น จากผลผลิตที่ดี มีคุณภาพสูงตลาดคะน้าใบหยิก ในปัจจุบันเป็นตลาดเพื่อคนรักสุขภาพ และตลาดส่งออก เพราะฉะนั้น ขั้นตอนการดูแลควรเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี
ขั้นตอน การดูแลคะน้าใบหยิก
การให้น้ำ
ควรติดตั้งระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์แบบหัวพ่นฝอย ที่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก ระยะห่างระหว่างหัวๆ ละ 4 เมตรตลอดระยะแนวปลูก ให้น้ำวันละ 2 รอบ เช้าและเย็น เป็นเวลา 5 ถึง 10 นาที
*** ในช่วงที่อากาศร้อน หรือฝนแล้ง ให้สังเกตความชื้นของดิน หากดินแห้ง ความขยายเวลาในการให้น้ำเพิ่มขึ้น แต่อย่าให้น้ำท่วมขัง***
*** การให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง คะน้าใบหยิกจะเจริญเติบโตได้ดี มีเส้นใยไม่มากเกินไป รสชาติอร่อย***
การให้ปุ๋ย
คะน้าใบหยิกเป็นผักกินใบ ในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างสูง
– ครั้งแรก 7 วัน หลังปลูก ใส่ปุ๋ยบริเวณลำต้น ใช้สูตร 46 – 0 – 0 หรือ 21 – 0 – 0 อัตรา 120 กรัม ต่อตารางเมตร
– ครั้งที่ 2 หลังปลูก 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 ผสม 15 – 15 – 15 อัตรา 1 ต่อ 2 ส่วน ผสมกัน ใช้อัตรา 120 กรัม ต่อตารางเมตร
– ครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก 21 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 30 – 20 – 10 อัตรา 20 กรัม ต่อ 20 ลิตร
หรือ ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี ก็เลือกใส่ปุ๋ยคอกแทน ในระยะเวลาเดียวกัน
***รดน้ำให้ชุ่มทุกครั้ง หลังการให้ปุ๋ย***
การพรางแสง
หากมีอุณหภูมิสูง หรือแดดจัด ในช่วงที่ทำการเพาะปลูกคะน้าใบหยิก ให้ใช้สแลนช่วยพรางแสงให้กับต้นคะน้าใบหยิก ช่วยให้ได้ผลผลิตที่ได้มาตรฐาน
การกำจัดวัชพืช
– หมั่นกำจัดวัชพืช เมื่อพบเห็น หากปล่อยทิ้งไว้นาน จะทำให้กำจัดได้ยากและอาจจะต้องใช้สารเคมีช่วยกำจัด
– กำจัดวัชพืชขณะวัชพืชยังเล็ก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืช หรือติดไปกับผลผลิต
– ควรเก็บวัชพืช และเศษพืชโดยเฉพาะที่เป็นโรคไปทำลายนอกแปลงปลูก
– วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
– วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
– ประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าตีนติด และหญ้าดอกขาว เป็นต้น
– ประเภทใบกว้าง ได้แก่ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ สาบแร้งสาบกา และผักโขม
– ประเภทกก เช่น กกทราย และหนวดปลาดุก
– วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด วัชพืชข้ามปีที่พบมาก คือ แห้วหมู
การป้องกันกำจัด
– ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7 วัน แล้วพรวนดิน 1-2 ครั้ง
– คราดเก็บซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
– คลุมดินด้วยฟางข้าวหลังหว่านเมล็ด
– กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหลังปลูก 20-30 วัน
การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
คะน้าใบหยิกสีเขียว
– มีอายุการเก็บเกี่ยว 50 ถึง 60 วัน
คะน้าใบหยิกสีม่วง หรือสีม่วงแดง
– มีอายุการเก็บเกี่ยว 70 ถึง 80 วัน

หลังจากหยอดเมล็ด
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตมีรสชาติดี มีคุณภาพ และเก็บไว้ได้นาน ควรปฏิบัติดังนี้
– อย่าปล่อยให้ผักแก่เกินไป
– เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเช้า แดดไม่จัดดีกว่าเวลาบ่าย
– ใช้มีดคมๆ ตัดให้ชิดโคนต้น ***อย่าเก็บหรือเด็ดด้วยมือ***
– ตัดไล่เป็นหน้ากระดานไปตลอดทั้งแปลง
– หลังเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำผักเข้าที่ร่ม วางในที่โปร่งและอากาศเย็น
– บรรจุในภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกเจาะรูระบายอากาศรอบด้าน หรือตามที่ลูกค้าต้องการ
การปลูกคะน้าใบหยิก (ผักเคล Kale) และประโยชน์
ข้อควรรู้ ในการจำหน่ายคะน้าใบหยิก
ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ
– มีรูปร่างลักษณะและสีตรงตามพันธุ์ ไม่แคระแกรน
– ไม่มีตำหนิใดๆ ไม่แก่เกินไป สีสม่ำเสมอ
– สด ไม่เหี่ยว สะอาด และปลอดภัยจากสารเคมี
การจัดชั้นคุณภาพ
ชั้นหนึ่ง
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1.0 ถึง 1.3 เซนติเมตร
– ความยาวจากโคนต้นถึงปลายใบสุดท้าย 35 เซนติเมตร
– มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ชั้นสอง
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.9 ถึง 1.0 เซนติเมตร
– ความยาวจากโคนต้นถึงปลายใบสุดท้าย 25 เซนติเมตร
– มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ชั้น U
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5 ถึง 0.9 เซนติเมตร
– ความยาวจากโคนต้นถึงปลายใบสุดท้าย 20 เซนติเมตร
– มีคุณภาพอย่างน้อยตามคุณภาพขั้นต่ำ
ข้อกำหนดในการจัดเรียง คะน้าใบหยิกในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องเป็นพันธุ์เดียวกัน มีชั้นคุณภาพเดียวกันและมีคุณภาพสม่ำเสมอ
การเก็บรักษา อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 95 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บรักษาได้นาน 2 ถึง 3 สัปดาห์
ช่วงเวลาที่มีผลผลิตตามท้องตลาด : เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม
ช่วงเวลาที่มีผลผลิตตามท้องตลาด : เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม
การขนส่ง
– เตรียมการเรื่องตลาดรับซื้อและยานพาหนะในการขนส่งไว้ล่วงหน้า
– ไม่กองผลผลิตบนพื้นรถบรรทุกโดยตรง ควรใส่ภาชนะ
– การขนส่งระยะทางไกลควรส่งให้ถึงเร็วที่สุด
การบันทึกข้อมูล
เกษตรกรควรบันทึกการปฏิบัติงานในขั้นตอนการผลิตต่างๆ ให้มีการตรวจสอบได้ หากเกิดข้อบกพร่องขึ้น สามารถจัดการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ทันท่วงที ได้แก่
– บันทึกสภาวะแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝน
– พันธุ์ วันที่ปลูก วันถอนแยก
– วันใส่ปุ๋ย และอัตราการใช้
– วันที่โรคและแมลงศัตรูพืชระบาด รวมทั้งวิธีกำจัด และระยะเวลาในการกำจัด
– ค่าใช้จ่าย ปริมาณผลผลิต และรายได้
– ปัญหา อุปสรรคอื่นๆ ในช่วงฤดูปลูก การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง
การป้องกัน แก้ไขโรค และแมลงศัตรูคะน้าใบหยิก (ผักเคล)