(คลิป) ทำไมอิสราเอลกลายเป็นประเทศที่ล้ำหน้าที่สุด ในด้านการเกษตร

5.69K Views

(คลิป) ทำไมอิสราเอลกลายเป็นประเทศที่ล้ำหน้าที่สุด ในด้านการเกษตร

ในตอนต้นของศตวรรษที่ 19 ผู้คนที่ย้านมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศอิสราเอล ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แสนจะเลวร้ายทำให้การปลูกพืชผักผลไม้กันทำเกษตรกรรมนั้นทำได้ยาก เพราะที่นี่อากาศร้อนอบอ้าวและฝนตกน้อยมากๆ พื้นที่ที่แสนจะแห้งแล้งและแล้วชาวอิสราเอลก็ได้ค้นพบวิธีการในการเอาตัวรอด ในสภาพอากาศแบบนี้ การพัฒนาและการทำเกษตรกรรมโดยที่ไม่มีแหล่งน้ำและดินก็ไม่ได้อุดมสมบูรณ์อะไร จนทำให้อิสราเอลกลายเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเกษตรกรรม

ในวิดีโอนี้จะพาคุณผู้ชมไปสำรวจนวัตกรรมเทคโนโลยี และวิธีการที่ชาวอิสราเอลได้เอาชนะภัยความแห้งแล้งและสภาพอากาศที่แสนจะเลวร้ายได้อย่างไร

การขาดแคลนน้ำนั้นยังเป็นปัญหาหลักที่ทุกๆ ประเทศยังต้องเผชิญหน้าอยู่ ก่อนหน้านี้การขาดแคลนน้ำนั้นเป็นปัญหาเพียงเล็กน้อย แต่ทุกวันนี้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในก้าวสู่การเป็นปัญหาระดับโลกไปแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ข้อมูลดังกล่าวได้รับการยืนยันจากนักวิทยาศาสตร์ที่ใช้เวลาศึกษา และดูการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาหลายปี นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเมื่อต้นศตวรรษที่ผ่านมามีประชากรของโลกเพียงแค่ 14% ซึ่งจะประมาณ 200 ล้าน คนที่อาศัยอยู่ณบริเวณพื้นที่ขาดแคลนน้ำ และเวลาผ่านไปเมื่อปี 1980 พื้นที่เหล่านี้ก็ได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 42% เรื่อยมาจนถึงปี 2000 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 58% หรือประมาณ 3,800 ล้านคน ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งจำนวนประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน นี้มีประสบการณ์ในการดำรงชีพอยู่กับสภาพอากาศแบบนี้อยู่แล้วจนมากก็จะเป็นเอเชียตะวันออก แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลาง ส่วนอิสราเอลนั้นพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่งก็เป็นทะเลทรายไปแล้ว แหล่งน้ำที่มาลักษณ์ของที่นี่ก็คือทะเลสาบคินอร์สเรสต์

ในปี 1952 รัฐใหม่ที่นี่ได้เริ่มสร้างระบบประปาแห่งชาติเพื่อเป็นการส่งน้ำไปยังคลองอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นใหม่และสถานที่ต่างๆ นอกจากนี้พวกเขายังได้ขุดบ่อบัจานเพื่อนำน้ำจากชั้นใต้ดินขึ้นมาใช้อีก เป็นร้อยร้อยบ่อ ซึ่งการเริ่มต้นครั้งนี้ของอิสราเอลได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามความต้องการน้ำจืดเพื่อที่จะนำมาทำการเกษตรกรรมก็ยังมีไม่เพียงพอ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ปริมาณน้ำฝนก็ลดลง ทรัพยากรน้ำก็เริ่มหมดลงเช่นกัน รัฐบาลของอิสราเอลก็ได้หันไปสนใจทรัพยากรน้ำจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อจะนำมาทำการเกษตร แต่คุณผู้ชมแปลกใจไหมคะว่าน้ำทะเลจะนำมาปลูกพืชผักผลไม้ได้ยังไง และนี่คือความเก่งของชาวอิสราเอลเค้าเลย

อิสราเอลจึงได้พัฒนาเทคโนโลยีการกลั่นน้ำเค็มและการรีไซเคิลน้ำเสียให้กลับมาเป็นน้ำจืด ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ที่ทางอิสราเอลได้คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมา อิสราเอลนั้นได้ใช้น้ำเค็มในการทำเกษตรกรรมมากถึง 50% แต่ยังไงก็ตามอิสราเอลก็ยังใช้เทคโนโลยีอย่างอื่นอีกสำหรับใช้ในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน อิสราเอลนั้นยังมีความก้าวหน้าอย่างมากในเทคโนโลยีที่นำมารีไซเคิล และนำกลับไปใช้เพื่อการเกษตร ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมาประเทศได้ลงทุนไปมากกว่า 26,000 ล้านบาท ในเทคโนโลยีและการบำบัดน้ำเสีย

ณ ปัจจุบัน ในประเทศอิสราเอลมีบ่อบำบัดน้ำเสียอยู่ทั้งหมด 67 แห่ง และโรงงานแห่งนี้ยังได้รับการกล่าวขานว่าเป็นโรงงานบำบัดน้ำเสียต้นแบบให้กับประเทศต่างๆ น้ำในโรงบำบัดน้ำเสียได้เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียแล้ว จะถูกส่งผ่านท่อออกไปทั้งหมด 60% พื้นที่เกษตรกรรม ที่เราเกริ่นว่าอิสราเอลเป็นประเทศต้นแบบในการบำบัดน้ำเพราะว่าเขานำน้ำกลับมารีไซเคิลมากถึง 90% มากกว่าประเทศอื่นๆ ถึง 4 เท่า และเทคโนโลยีบำบัดน้ำขั้นสูงนี้ก็ได้ถูกกระจายออกไปช่วยประเทศต่างๆ เช่น แถบแคลิฟอร์เนีย แอฟริกา และก็อินเดีย และเรื่องที่สำคัญที่สุดของที่นี่คือระบบชลประทาน ระบบชลประทานที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดของอิสราเอลก็คือ ระบบชลประทานน้ำหยด Drip Irrigation ที่มีประสิทธิภาพการจ่ายน้ำได้ 90% หรือมากกว่านั้นเมื่อเทียบกับระบบน้ำฉีดฝอยสปริงเกอร์ที่จะมีประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำเพียงแค่ 75-85% หลักการก็คือปล่อยน้ำแบบหยดให้ซึมไปเรื่อยเรื่อย ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับแถบประเทศทะเลทรายมากๆ เพราะน้ำที่ถูกไปแต่ละหยดนี้จะถูกดูดซับเข้าสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็วก่อนที่จะระเหยหมดไป และอีกอย่างก็คือเป็นการใช้น้ำอย่างตรงเป้าหมายสุดๆ เพราะว่าน้ำนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่รากโดยตรงไม่ได้ฉีดเข้ากระจายไปทั่วโดนบ้างไม่โดนบ้าง หรือว่าน้ำส่วนมากก็โดนแต่ใบซึ่งอันนี้เป็นการสิ้นเปลืองน้ำไปจำนวนมาก ระบบน้ำหยดนี้ก็ได้กระจายและถูกนำไปใช้ในอีก 109 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ไร่อ้อยในฟิลิปปินส์ไปจนถึงไร่ชาในแทนซาเนีย ระบบชลประทานน้ำหยดนี้จะเป็นแบบอัตโนมัติจะถูกผลักน้ำและปุ๋ยที่มีการผสมกันแล้วไปตามท่อ ต้นพืชจะได้น้ำและปุ๋ยในปริมาณที่เท่ากันระบบน้ำหยดนี้ประหยัดต้นทุนทุกอย่างไม่ว่าต้นทุนน้ำต้นทุนปุ๋ยหรือว่าสารกำจัดศัตรูพืช ที่ไม่ได้ใช้ไปกับทั้งหมดของพื้น ที่หยดเฉพาะรากของต้นไม้

อิสราเอลนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรมแบบเข้มข้นเขาจึงมีการวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชให้ปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศแถบทะเลทรายให้มากที่สุด โดยพืชนำเข้านั้นได้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอิสราเอลไปแล้ว นั่นก็คือโจโจบราและกระบองเพชรไร้หนามส่วนที่ขึ้นชื่อในตลาดยุโรปก็คือมะเขือเทศอิสราเอล นอกจากพืชสามชนิดนี้จะทำเงินให้กับอิสราเอลแล้วก็ยังมีรายชื่อสายพันธุ์พืชอีกมากมายที่มีการพัฒนาทางพันธุกรรมเพื่อให้มีความสามารถการทนต่อน้ำเค็มทนต่อดินแล้ง และโรคพืชต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาการเกษตรของอิสราเอลนั้นเป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ เกษตรกร ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร จนนำมาซึ่งเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงไม่ว่าจะเป็นระบบการชลประทานที่มีประสิทธิภาพ การย่อยสลายแบบไร้อากาศ ระบบการปลูกพืชในเรือนกระจก รวมทั้งการวิจัยการเกษตรตะกอนในทะเลทราย พื้นที่ที่สุดแสนจะแห้งแล้งและการกำจัดเกลือเหล่านี้จึงทำให้อิสราเอลได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่จะทำเกษตรกรรมอย่างเข้มข้น แม้แต่น้ำหยดเจียวก็สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ไม่ได้ จึงส่งผลให้หนึ่งในสามของผลผลิตที่ได้สามารถส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ได้โดยเฉพาะในยุโรป

และนี่คือเหตุผลที่เทคโนโลยีทั้งหลายของอิสราเอลจะถูกส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เพื่อช่วยผู้คนอีกนับล้านชีวิตที่อยู่อาศัยตามแหล่งบริเวณที่แห้งแล้งขาดแคลนน้ำ ประเทศที่มีระบบการบำบัดน้ำเสียแบบไม่เต็มประสิทธิภาพ ประเทศที่มีพื้นที่อยู่ติดกับทะเล เทคโนโลยีจากอิสราเอลสามารถใช้ได้แน่นอน ถ้าเมืองไหนหรือรัฐบาลประเทศไหนๆ สามารถควบคุมจัดการและดูแลน้ำใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดใช้แบบทุกหยดเหมือนอิสราเอลแล้วเมืองนั้นประเทศนั้นๆก็จะไม่ต้องเป็นกังวลกับภาวะภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำในอนาคต หากมีน้ำเพียงพอผลผลิตจากการเกษตรก็มีเพียงพอ เราหวังว่าทั่วโลกเราจะได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากอิสราเอลกัน

ทำไมอิสราเอลกลายเป็นประเทศที่ล้ำหน้าที่สุด ในด้านการเกษตร

รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนกันเลย

ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่ 👇


ที่มา Youtube Channel : เทค สมาร์ท
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=fq4nFHEWGhM

Show More
Top