(คลิป) วิธีตัดแต่ง กิ่ง ก้าน ใบ ผักสวนครัวมีไว้กินนานๆ หมูอ้วนชวนทำเกษตร : วีดีโอ เกษตร

4.00K Views

(คลิป) วิธีตัดแต่ง กิ่ง ก้าน ใบ ผักสวนครัวมีไว้กินนานๆ หมูอ้วนชวนทำเกษตร : วีดีโอ เกษตร

ถ้ามีประโยชน์ ฝากแชร์ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นความรู้ให้เพื่อนๆ ด้วยจ๊า

+++ ความรู้เพิ่มเติม +++

แมลลัก
แมงลัก (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum × citriodourum) เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil

แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้

แมงลักในประเทศไทยนั้น มี “ศรแดง” เป็นสายพันธุ์หลักเพียงสายพันธุ์เดียว ที่เหลือเป็นพันธุ์ผสมบ้าง พันทางบ้าง ลักษณะของพันธุ์ศรแดงที่ดีนั้น ใบต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น ดอกสีขาวเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร

การใช้ประโยชน์
แมงลัก ใบใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เช่น ห่อหมก แกงเลียง อ่อม แกงคั่ว ขนมจีนน้ำยา แกงหน่อไม้ พบมากในอาหารอีสาน เมล็ดแชน้ำให้พอง ใช้ทำขนมหรือรับประทานกับน้ำแข็งไส ไอศกรีม ใบมีฤทธิ์ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร เมล็ดช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย สกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบไปใช้ในอุตสาหกรรมสบู่และเครื่องสำอาง กิ่งและใบทุบแล้ววางในเล้าไก่ ช่วยไล่ไรตัวเล็กๆได้

คุณค่าทางโภชนาการ
ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย รายงานว่า แมงลัก 1 ขีด

– โปรตีน 3.8 กรัมต่อน้ำหนักใบสด 100 กรัม ซึ่งสูงกว่ากะเพราและโหระพา
– บีตา-แคโรทีนสูงถึง 590.56 ไมโครกรัม เทียบหน่วยเรตินัล สูงกว่ากะเพราและโหระพา
– แคลเซียม 140 มิลลิกรัม

กรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า
– พลังงาน 0.032 กิโลแคลอรี่
– วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล
– วิตามินบี2 ประมาณ 0.14 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่ากะเพราและโหระพา แต่แร่ธาตุอื่นๆ มีสูงกว่า
– ไขมันสูงถึง 0.8 กรัม
– แป้งมากถึง 11.1 กรัม
– แคลเซียม 350 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม
– เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม
– วิตามินบี1 0.30 มิลลิกรัม
– วิตามินซี 78 มิลลิกรัม

การปลูกเลี้ยง
สามารถปลูกได้โดยใช้กิ่งชำหรือใช้เมล็ดเพาะเป็นต้นกล้าแล้วย้ายปลูก เมื่อเมล็ดงอกขึ้นมาได้อายุ 1 เดือน ลงแปลงที่เตรียมดินไว้ ระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว 40 เซนติเมตร แต่ถ้าเมื่อถอนขึ้นมาก่อนนำไปปลูกลงดิน ต้องตัดยอดทิ้งก่อนหรืออาจตัดออกครึ่งต้นก็ได้ ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรตัดแต่งรากด้วย เพราะแมงลักที่ตัดแต่ง รากจะงอกงามกว่า แต่ทั้งนี้เวลานำไปปลูก ต้องรดน้ำด้วย ใช้ปลูก หลุมละ 2-3 ต้น เมื่อต้นแมงลักเติบโต กิ่งก้านใบก็จะคลุมถึงกันหมด

การเลือกพื้นที่ปลูก
แมงลักเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ ทุก 15-20 วัน การเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นที่ดอน แต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้รดได้สะดวก ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง ปกติสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่แมงลักจะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี และปลอดจากลมแรง

การเตรียมดิน
ไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ตากดินไว้ 1-2 อาทิตย์ แล้วย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาว ในอัตรา 100-300 กิโลกรัม / ไร่ ใส่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก อัตรา 2,000 กิโลกรัม / ไร่ ปุ๋ยสูตร 16-16-16อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ คลุกเคล้าให้ทั่วแล้วยกแปลง ให้สูง ประมาณ 30 เซนติเมตร

การดูแลรักษา
ควรจะให้น้ำสม่ำเสมอ วันละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หลังเพาะกล้า 7 วัน และครั้งที่2 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 20-11-11 ในอัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากครั้งแรก 15 วัน

การเก็บเกี่ยว
ใช้มีดตัดกิ่งที่เจริญเติบโตเต็มที่ มัดแล้วนำไปจำหน่าย สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้งแต่ถ้ายังไม่มีผู้รับซื้อเกษตรกรสามารถชะลอการเก็บเกี่ยวออกไปได้โดยการเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง จนถึงระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงเรื่อยๆ เกษตรกรจึงควรทำการถอนทิ้งเพื่อปลูกใหม่

แหล่งเพาะปลูกแมงลักเชิงการค้า
แหล่งเพาะปลูกแมงลักภายในประเทศไทย ให้ผลผลิตเพียง 112 กิโลกรัม ต่อพื้นที่เพียง 148 ไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลผลิตต่อไร่ ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับกะเพรา และโหระพา

คลิป : หมูอ้วน ชวนทําเกษตร
ติดตาม : https://www.youtube.com/watch?v=gxy-rvyuia0

Show More
Top