วิธีต่อกรอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ บำรุงพืชในระบบน้ำหยด l รักบ้านเกิด
- Genres:เครื่องมือเกษตร+DIY
วิธีต่อกรอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ บำรุงพืชในระบบน้ำหยด l รักบ้านเกิด
เนื่องจากแต่เดิมสับปะรดที่ปลูกในลำปางเป็นการปลูกเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม และเป็นการปลูกโดยใช้สารเคมีทั้งหมด คุณกฤษณะจึงอยากเปลี่ยนมาทำสับปะรดแบบอินทรีย์ จึงเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งมีทั้งน้ำหมักจากสับปะรด จากถั่วเหลืองและจากขี้เป็ด รวมถึงขี้ปลามาผสมกันในสัดส่วนที่ลงตัวแล้วฉีดพ่นสับปะรด ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ สับปะรดมีรสชาติหวาน กรอบ แถมยังปลอดภัยและลดต้นทุนการปลูกได้ด้วย
ปัญหาหนึ่งที่คุณกฤษณะเจอก็คือเกษตรกรหรือชาวบ้านทั่วไปที่หมักปุ๋ยใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเศษอาหารก็ตาม ปุ๋ยจากน้ำหมักจากเศษผลไม้หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ไม่ค่อยได้ใช้กันอย่างเต็มที่ เพราะหนึ่งก็คือจะมีเรื่องกลิ่น สอง เวลาจะใช้มักจะมีเศษไปอุดตันหัวฉีด คุณกฤษณะจึงมีเทคนิคนิดหนึ่งเพื่อที่จะใช้น้ำหมักได้อย่างสะดวกและเต็มที่ นั่นก็คือการกรองนั่นเอง
++++++++++
ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับน้ำบาดาล
น้ำบาดาล (อังกฤษ: groundwater) คือน้ำที่ถูกกักเก็บหรือสะสมตัวอยู่ใต้ดิน อาจสะสมตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของชั้นหิน หรืออาจสะสมตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวด หรือเม็ดทรายใต้ผิวดิน น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลแย่งออกได้เป็น 2 โซนคือ unsaturated zone เป็นโซนที่มีทั้งน้ำและอากาศ และ saturated zone เป็นโซนที่มีแต่น้ำเท่านั้นโดยส่วนนี้จะเป็นส่วนของน้ำใต้ดินที่แท้จริง
– unsaturated zone มีความสำคัญมากสำหรับน้ำใต้ดิน โซนนี้สามารถแบ่งได้ 3 ส่วนคือ soil zone, intermediate zone และ the upper part of capillary fringe” โดยsoil zone จะเริ่มจากผิวดินลึกลงไปเมตรถึงสองเมตร พื้นที่ส่วนนี้จะมีรากต้นไม้ มีรูชอนไชของพืชและสัตว์ ทำให้รูพรุน porosity และความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ (permeability) ในพื้นที่ที่นี้สูง intermediate zone จะมีความลึกไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความหนาของ soil zone และ capillary fringe โซนล่างสุดคือ capillary fringe โซนนี้เป็นส่วนหนึ่งของ unsaturated zone โดย capillary fringe เกิดจากแรงระหว่างหินและน้ำ ซึ่งผลจากแรงดึงดูดนี้ทำให้น้ำมีลักษณะคล้ายถูกตรึงอยู๋ในช่องว่างของหิน น้ำใน capillary fringe และที่อยู่ใต้โซนนี้จะมีค่า hydraulic pressure มีค่าเป็นลบ (มีความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ) “water table” คือระดับ
– saturated zone ที่ hydraulic pressure มีค่าเท่ากับ atmospheric pressure หรือความดันบรรยากาศ โดยค่า hydraulic pressure จะมีค่าเพิ่มตามความลึก
ชั้นหินอุ้มน้ำ
ชั้นหินอุ้มน้ำ (อังกฤษ: Aquifer) คือชั้นของหินที่มีรูพรุนซึ่งสามารถกักเก็บน้ำและไหลผ่านรูพรุนเพื่อสูบใช้ได้ โดยชั้นหินอุ้มน้ำแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
ชั้นหินอุ้มน้ำแบบเปิด (unconfined layer)
คือชั้นน้ำบาดาลที่ไม่ถูกปิดทับโดย คือชั้นหินที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้ semipervious strata หรือซึมผ่านได้ยาก Impervious strata เมื่อไม่ถูกปิดทับชั้นน้ำจึง ไร้แรงดันและน้ำจากผิวดินสามารถซึมลงไปได้โดยตรง โดยระดับที่น้ำจะถูกดึงโดยแรงดึงดูดโลกและเติมในโซนอิ่มตัวของชั้นน้ำนี้เรียกว่า water table หรือ phreatic surface เมื่อทำการเจาะบ่อในชั้นน้ำนี้ระดับน้ำจะอยู่ในระดับ water table และระดับน้ำสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นกับปริมาณน้ำ Recharge และ Discharge ชั้นหินอุ้มน้ำนี้มี คุณภาพต่ำและปนเปื้อนได้ง่ายจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย บ่อเกรอะ และสารเคมีต่างๆ เนื่องจากสารเคมีที่ตกค้างในผิวดินสามารถถูกชะ โดยน้ำฝนและซึมเข้า สู่ชั้นน้ำบาดาลนี้ได้โดยตรง
ชั้นหินอุ้มน้ำแบบปิด(confined layer)
คือชั้นน้ำบาดาลที่มีชั้นหินที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้หรือซึมผ่านได้ยากปิดทับ ทำให้ชั้นน้ำนี้มีแรงดัน บางครั้งจึงเรียกชั้นน้ำนี้ว่า Pressure aquifer หรือ Artesian aquifer โดยแรงดันจะอยู่ในลักษณะ Hydrostatic pressure คือ มีแรงดันเท่ากันทุกจุด โดยมี Piezometric surface เป็นชั้นสมมติที่แสดงระดับน้ำที่ความดันเท่ากันโดยอ้างอิงจากน้ำ ในบ่อเจาะชั้นน้ำ หากทำการเจาะบ่อสำรวจในชั้นน้ำจะพบว่าระดับน้ำในบ่อเปลี่ยนแปลงน้อยมากและระดับน้ำในบ่อจะสูงกว่าชั้นหินอุ้มน้ำที่ถูกปิดทับเนื่องจากมีแรงดัน คุณภาพ น้ำในชั้นหินอุ้มน้ำถูกปิดทับจะมีคุณภาพสูงไม่ถูกปนเปื้อนได้ง่าย แต่ถ้าหากปนเปื้อนจะใช้เวลานานมากในการตรวจพบ
วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรน้ำ (อังกฤษ: Hydrologic cycle) กล่าวถึงการเคลื่อนที่อย่างคงที่ของน้ำทั้งเหนือและใต้ผิวโลก วัฎจักรของน้ำเริ่มจากการระเหยน้ำจากพืช ดินชื้น และทะเล ความชื้นจากการระเหยนี้จะคืนกลับสู่ผิวดิน โดยการกลั่นตัว การกลั่นตัวเกิดได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นฝน หิมะ และลูกเห็บ แต่ในแง่น้ำบาดาลจะพิจารณาแต่ฝนเท่านั้น เมื่อฝนตกลงมาสู่ผิวดิน น้ำฝนจะซึมลง (infiltration) ใต้ดิน โดยค่า infiltration จะมีค่ากว้างมากขึ้นกับการใช้งานพื้นที่ ความชื้นของดิน และระยะเวลาที่ได้รับน้ำ เมื่อใดก็ตามที่ฝน (precipitation) ตกในปริมาณที่มากจะเกิดการซึมลง (infiltration) สู่ใต้ดินเพิ่มขึ้น น้ำที่ซึมลงจะไปแทนที่ความชื้นในดิน และค่อยไหลเข้าสู่โซน intermediate และเข้าสู่โซนน้ำอิ่มตัว (saturated zone) น้ำในโซนที่อิ่มตัวจะซึมในลงในแนวดิ่งและแนวราบเป็น discharge ออกจากชั้นน้ำบาดาลเช่น น้ำพุบนภูเขา หรือ น้ำซึมในลำธาร จากนั้นก็จะระเหยกลับเข้าสู่วัฏจักรอีกครั้ง น้ำที่เติมในแม่น้ำ ทั้งจากการไหลบนผิวดินและจาก discharge ของน้ำบาดาลจะไหลลงทะเลทั้งหมดและระเหยกลับเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง