- Genres:บ้านและสวน, วีดีโอทั้งหมด, เครื่องมือเกษตร+DIY
(คลิป) DIY วิธีทำเตาอเนกประสงค์ ทำอาหาร ปิ่ง ย่าง อบ ทำไม่ยากอย่างที่คิด : วีดีโอ เกษตร
DIY วิธีทำเตาอเนกประสงค์ ทำอาหาร ปิ่ง ย่าง อบ ทำไม่ยากอย่างที่คิด
Creative concept 2 in 1 outdoor multi purpose oven from cement and non iron barrel.
If you liked this video please give like and subscribe. Stay tuned for more videos from this channel.
Comment and share.
Thank you for watching .
รายละเอียดวิธีการทำจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนได้เลยครับ
+++ ความรู้เพิ่มเติม +++
ปูนมอร์ตาร์
ปูนทนไฟ (Refractory Mortars) คือวัสดุทนไฟที่ใช้ก่ออิฐทนไฟแต่ละก้อนให้ยึดติดกันช่วยให้โครงสร้างสามารถคงรูปร่างอยู่ได้ และช่วยป้องกันการรั่วไหลและวัตถุดิบภายในเตา มีคุณสมบัติทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้ เช่นเดียวกับวัสดุทนไฟชนิดอื่น ๆ
ประเภทปูนทนไฟ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1. ปูนทนไฟ ชนิดที่ต้องให้ความร้อนจึงจะแข็งตัว (HEAT SETTING MORTARS) เป็นปูนทนไฟชนิดผงแห้ง (DRY TYPE) ซึ่งการใช้งงานต้องนำไปผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ข้างถุงก่อนการใช้งาน ปูนทนไฟชนิดนี้จะให้ความแข็งแรงสมบูรณ์เมื่อได้รับความร้อนสูงเกินกว่า 1000 องศาเซลเซียล ตัวอย่างปูนทนไฟชนิดนี้ได้แก่ MORTAR 30-HM, MORTAR 43-HM,และ MORTAR 70-HM เป็นต้น
2. ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง (AIR SETTING MORTARS) ปูนทนไฟชนิดนี้มีทั้งชนิดผงแห้ง (DRY TYPE) ซึ่งต้องผสมน้ำก่อนนำมาใช้งาน และชนิดเปียก (DRY TYPE) ซึ่งผสมเสร็จพร้อมใช้งานได้ทันที ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้องนี้จะเกิดปฏิกิริยาให้ความแข็งแรงได้เอง ณ.อุณหภูมิห้อง ตัวอย่างปูนทนไฟ ชนิดนี้ได้แก่ MORTAR 30-AM(W), MORTAR 43-AM(W), MORTAR 43-AM(D) และ MORTAR 80-PM เป็นต้น
หลักการเลือกใช้ปูนทนไฟ
1. พิจารณาว่าอุณหภูมิใช้งานสูงถึง 1000 องศาเซลเซียล หรือไม่ หากไม่ถึงควรใช้ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง
2. พิจารณาว่าตำแหน่งที่นำปูนทนไฟไปใช้งานต้องรับน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวหรือไม่ เช่น หม้อเผาปูนซีเมนต์,รถเตา,เป็นต้น กรณีที่รับน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวควรใช้ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง
3. ควรเลือกปูนทนไฟให้เหมาะสมกับคุณภาพของอิฐทนไฟ โดยสามารถดูได้จากตารางแสดงคุณสมบัติ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับอุณหภูมิการใช้งานเป็นหลัก
4. พิจาณาความสะดวกในการทำงาน ซึ่งปูนทนไฟชนิดเปียก (WET TYPE) จะให้ความสะดวกและประหยัดเวลาในการเตรียมมากกว่า
5. ต้องสามารถทนต่อปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเตาเผานั้นได้ด้วย
การเตรียมปูนทนไฟ
การเตรียมปูนทนไฟชนิดแห้ง (DRY TYPE MORTARS)
1. ตวงน้ำสะอาดที่ใช้ผสมปูนทนไฟตามเปอร์เซนต์นำที่กำหนดไว้ที่ถุง
2. โรยผงปูนทนไฟลงไปในถังผสมทีละน้อยจนหมด ซึ่งในขณะที่โรยปูนทนไฟให้เปิดสว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนอยู่ตลอดเวลา
3. กวนต่ออีกจนกว่าปูนทนไฟจะเป็นเนื้อเดียวกันและเหนียวพอเหมาะกับการใช้งาน
4. ถ้าเป็นชนิดแห้งแข็งตัวที่อุณหภูมิห้องควรหมักทิ้งไว้ 24 ชม. และต้องกวนอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน
การเตรียมปูนทนไฟชนิดเปียก (WET TYPE MOTARS)
1. เปิดปากถังใช้สว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนปูนทนไฟให้ทั่วโดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
2. หากเนื้อปูนทนไฟข้นเกินไปให้เติมน้ำสะอาดปรับความหนืดของปูนทนไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน และต้องกวนปูนทนไฟนั้นให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนนำไปใช้งาน
วิธีการทดสอบความเหนียวที่เหมาะสมของปูนทนไฟ
การทดสอบความเหนียวของปูนทนไฟทำได้โดยใช้เกรียงตักปูนทนไฟขึ้นมาแล้วใช้เกรียงลงในแนวดิ่ง ถ้าปูนทนไฟยังคงติดเกรียงอยู่เมื่อสลัดเบา ๆ ปูนทนไฟจะหลุดออกมาจากเกรียง แสดงว่าปูนทนไฟ มีความเหนียวเหมาะสมกับการใช้งานแต่ถ้าปูนทนไฟน้นไหลหลุดออกจากเกรียงทันที แสดงว่าปูนทนไฟนั้นเหลวเกินไป จะทำให้เกิดการหดตัวและมีรอยร้าวเมื่อปูนทนไฟแห้ง ถ้าผสมแห้งเกินไปจะเกิดรอยร้าว และจะได้งานที่มีความหนาของปูนไฟไม่เรียบสมำเสมอกัน
การใช้งาน
1. ในการเตรียมปูนทนไฟทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ ควรกวนให้เป็นเนื้อเยวกันอีกครั้งก่อนนำมาใช้งาน
2. ฉาบปูนทนไฟลงบนผิวอิฐทนไฟที่จะนำมาก่อทั่วทั้งหน้าอิฐ ให้มีความหนาไม่เกิน 2 mm.
3. ใช้ฆ้อมยางปรังแต่งระดับด้วยการตีอิฐทนไฟให้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ปูนทนไฟเยิ้มออกมาตามแนวก่อเล็กน้อย
การอุ่นเตา
หลังจากที่ได้ก่อเตาเรียบร้อยแล้ว ควรอ่นเตาตามอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิดังกราฟ เพื่อไม่ให้เกิดการแตกร้าวบริเวณแนวของปูนทนไฟ เนื่องจากการหดตัวอย่างรวดเร็ว
ช่วงที่ 1 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 องศาเซลเซียล/ชั่วโมง
ช่วงที่ 2 รักษาอุณหภูมิที่ 560 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 5 ชั่วโมง
ช่วงที่ 3 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 องศาเซลเซียล/ชั่วโมง จนถึงอุณหภูมิใช้งาน
ที่มา Youtube Channel : Good Creative Idea Dmkt
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=pC48dSdLU3k