(คลิป) เพาะและย้ายต้นกล้า คะน้าเห็ดหอม เพาะแบบง่ายๆและย้ายแบบบ้านๆ by ต่าย : วีดีโอ เกษตร

19.19K Views

(คลิป) เพาะและย้ายต้นกล้า คะน้าเห็ดหอม เพาะแบบง่ายๆและย้ายแบบบ้านๆ by ต่าย : วีดีโอ เกษตร

ถ้ามีประโยชน์ ฝากแชร์ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นความรู้ให้กับเพื่อนๆ ด้วยจ๊า

+++ ความรู้เพิ่มเติม +++

คะน้าเห็ดหอม

ชื่อวิทยำศำสตร์ : Brassica alboglabra
วงศ์ : craciterae
ชื่อสำมัญอังกฤษ : Chinese kale
ฤดูกำล : สามารถเจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพอากาศ
ถิ่นกำเนิด : แถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกชาวจีนเป็นผู้ริเริ่มนาผักคะน้าเข้ามาปลูกในประเทศไทย

ลักษณะโดยทั่วไป
ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุหว่านจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เวลาที่ปลูกที่ได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน คะน้าสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมีความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.8 และมีความชื้นในดินสูงสม่าเสมอ

ลักษณะทำงพฤกษาศาสตร์
1. ลาต้น มีลักษณะตั้งตรง สูง 20-30 ซม. ลาต้นมีลักษณะแข็งแรง อวบใหญ่ มีสีเขียวนวล นิยมนามาบริโภคมาก รองลงมาจากยอดอ่อน

2. ใบ ลักษณะใบของคะน้ามีหลายลักษณะตามสายพันธุ์ที่ปลูก อาทิ คะน้าใบกลม คะน้าใบแหลม บางพันธุ์มีลักษณะก้านใบยาวหรือสั้น การแตกของใบจะแตกออกจากลาต้นเรียงสลับกัน 4-6 ใบ/

3. ลาต้น ผิวใบมีลักษณะเป็นคลื่น ผิวเป็นมัน สีเขียวอ่อนถึงเขียวแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมนามาบริโภครองลงมาจากส่วนยอด

4. ยอด และดอก บริเวณที่ถัดจากใบสุดท้ายที่เติบโตแยกออกมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเป็นส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อนขนาดเล็ก 2-3 ใบ มีลักษณะคล้ายบัวตุ่ม ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน รอที่จะเติบโตเป็นใบแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมนามาบริโภคมากที่สุด

5. ราก รากของคะน้า ประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ต่อจากลาต้น มีสีขาวออกน้าตาลเล็กน้อย หยั่

พันธุ์คะน้า
คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธ์ด้วยกันคือ

1. พันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์

2. พันธุ์ใบแหลม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L.

3. พันธุ์ยอดหรือก้าน มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จานวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ดินที่เหมาะสาหรับปลูกผักคะน้าควรมีค่า PH ระหว่าง 5.5-6.8 และหากดินเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตราที่สอดคล้องกับสภาพดินในแต่ละที่ ดินที่ใช้ปลูกผักคะน้าควรขุดพลิกดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตรที่ไม่ต้องขุดลึกมากนักเพราะระบบรากของผักคะน้าไม่ลึกนัก ขุดพลิกแล้วตากดินไว้ 7-10 วันแล้วย่อยพรวนเป็นก้อนเล็กๆ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วในอัตรา 1 ตัน/ไร่ และปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ลงคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน

การเพาะกล้า
ใช้วิธีการหว่านเมล็ดในแปลงที่ยกร่องแปลงสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร ขนาดแปลง 2×2.5 เมตร การเตรียมแปลงหว่านให้กาจัดวัชพืช และใช้ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หว่านโรยประมาณ 2 ถัง พร้อมพรวนดินคลุกให้ปุ๋ยผสมกับดิน หลังจากนั้นทาการหว่านเมล็ดพันธุ์ 1-2 ถุง และให้โรยทาด้วยดินผสมปุ๋ยคอกอีกครั้งก่อนวางทับด้วยฟาง และรดน้าให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกประมาณ 3-5 วันหลังจากเมล็ดงอก 7-10 วัน ให้คัดเลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์ และถอนต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งควรใส่สารละลายสตาร์โซลูชั่นรด เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกดขึ้น เมื่อกล้ามีอายุปราณ 25-30 วัน จึงทาการย้ายไปปลูกในแปลงต่อไป

การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูกคะน้ามักปลูกในแปลงที่ยกร่องสูงเหมือนกับการปลูกผักชนิดอื่นๆ

– ระดับแปลงควรสูงอย่างน้อย 20-30 ซม. กว้าง 2-3 เมตร ขนาดความยาวตามความเหมาะสม

– ทาการกาจัดวัชพืช และหว่านโรยด้วยปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ 1000 กก./ไร่ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 20 กก./ไร่

– ทาการไถกลบแปลง และตากแดดประมาณ 5-10 วัน

– ทาการไถพรวนแปลงอีกครั้งก่อนปลูก และตากดินประมาณ 3-5 วัน

วิธีการปลูก
– การปลูกจะใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 20-30 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 3-5 ใบ ต้นสูงประมาณ 10 ซม.

– การย้ายกล้าปลูกควรมีดินติดรากหรือหากไม่มีให้แช่รากในน้าระหว่างปลูก และที่สาคัญควรปลูกทันทีเมื่อถอนต้นกล้า

– ระยะปลูกระหว่างต้น และแถวประมาณ 20×20 เซนติเมตร

การดูแลรักษา
การให้น้า ผักคะน้าต้องการน้าอย่างเพียงพอและสม่าเสมอ ดังนั้นการปลูกผักคะน้า จึงต้องปลูกในแหล่งที่มีน้าอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาล หากขาดแคลนน้าจะทาให้ผักชะงักการเจริญเติบโตและคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ในช่วงที่ระยะเมล็ดเริ่มงอกยิ่งขาดน้าไม่ได้เลย วิธีการให้น้าผักคือใช้บัวฝอยรดน้าวันละ 2 เวลาเช้า-เย็นหรือตามที่พืชต้องการ

การใส่ปุ๋ย
การปลูกผักคะน้าหรือผักใดๆก็ตามควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและสูตรรองพื้น ก่อนหว่านเมล็ดทุกครั้ง การปลูกผักจะได้ผลดีมากขึ้น เพราะผักจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยที่ใส่ได้อย่างเต็มที่กว่า โดยจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1 ตัน/ไร่ ส่วนปุ๋ยสูตรแนะนาให้ใช้ตรากระต่ายสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ หากสังเกตว่าผักที่ปลูกไม่ค่อยเจริญเติบโตอาจจะใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต เช่น ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ หว่านแล้วรดน้าตาม

การเก็บผลผลิต
คะน้าสามารถเก็บต้นได้หลังจากหว่านเมล็ด 45-55 วัน ด้วยการใช้มีดตัดชิดโคนต้น ไม่ควรใช้มือเด็ดถอน พร้อมเด็ดใบแก่ติดโคนต้นออก 1-2 ใบ และนามาล้างทาความสะอาด ทั้งนี้ อาจต้องเก็บผักก่อนระยะกาหนดหากมีอาการเกิดโรคในระยะที่คะน้าโตเต็ม

ข้อพิจารณาการเก็บคะน้า
1. การเก็บคะน้าควรเก็บในช่วงเช้าตรู่หรือเมื่อต้องการนามารับประทาน ควรหลีกเลี่ยงการเก็บในช่วงที่แดดร้อนจัด

2. ขณะเก็บ ควรใช้มีดขนาดเล็ก และคมตัด ไม่ควรเก็บด้วยการเด็ดด้วยมือ เพราะอาจทาให้ลาต้น และใบช้าได้

3. ไม่ควรเก็บในระยะที่คะน้าแก่หรือเริ่มออกดอก

4. เมื่อใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว หากคะน้าเริ่มมีการระบาดของโรคหรือแมลง ควรรีบเก็บผลผลิตทันที

5. เมื่อเก็บเสร็จ ควรรีบนาเข้าร่มหรือพักไว้ในที่โปร่ง และเย็น

6. ควรล้างคะน้าให้สะอาดก่อนเก็บบรรจุถุง

โรคและแมลง
แมลงศัตรูพืชที่ชอบกัดกินใบคะน้า ได้แก่ หนอนกระทู้ หนอนใยผัก ด้วงหมักผัก ซึ่งสามารถกาจัดได้ด้วยยาฆ่าแมลงชนิดต่างๆ ทั้งนี้ ไม่แนะนาวิธีนี้ แต่ควรใช้สารสกัดจากพืชธรรมชาติฉีดรดเป็นประจา ได้แก่ น้าสะเดา น้าบอระเพ็ด เป็นต้น รวมถึงการใช้เชื้อรากาจัดแมลงป้องกันการวางไข่ เช่น เชื้อราบิเวอเรีย เป็นต้น

– โรคโคนคะน้าเน่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Pythium sp. หรือ Phytophthora sp. มักเกิดในแปลงคะน้าที่หว่านหรือปลูกกันถี่มากเกินไป ทาให้ลม และแสงแดดส่องไม่ถึง จนทาให้เกิดเชื้อราบริเวณโคนต้น โคนต้นเป็นแผล และเน่าตามมา หากถูกแสงแดด และน้านานๆจะทาให้ต้นเหี่ยวพับ และเหี่ยวแห้งตาย สามารถป้องกันได้ด้วยการวางระยะห่างของหลุมปลูกที่เหมาะสมที่แสงสามารถส่องถึงโคนต้นได้

– โรคราน้าค้างคะน้า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica สามารถเกิดทั้งในระยะต้นกล้า และระยะคะน้าโตเต็มที่ ทาให้คะน้ามีจุดเล็กๆสีดาเป็นกลุ่มใต้ใบ เมื่อลุกลามมากใบจะเป็นแผล และเหี่ยวร่วงง่าย

– โรคแผลน้าตาลไหม้ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp. มักพบบนใบแก่บริเวณโคนลาต้น ใบจะมีลักษณะเป็นแผลวงกลมสีน้าตาล

– โรคคะน้าทั้งหมดสามารถป้องกัน และกาจัดได้ด้วยการฉีดพ่นสารกาจัดเชื้อรา เช่น ไซแน็บ มาแน็บ แคปแทน ไดโฟลาแทน ดาโคนิน เบนเลท และเบนโนมิล เป็นต้น แต่ควรใช้หลักการจัดการด้านอื่นเข้าช่วย เช่น ระยะปลูกที่เหมาะสม การใช้น้าสกัดจากพืชเป็นต้น

สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักคะน้า
คะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลาไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทาให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูก

คะน้ามีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินซีและเบต้า-แคโรทีน ซึ่งร่างการจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่มีผลต่อการบารุงสายตา เสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณและต้านทานการติดเชื้อ คะน้าให้โฟเลตและธาตุเหล็กสูง ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จาเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

คุณค่าทางอาหาร
คะน้า 100กรัม ให้พลังงาน 31กิโลเคลอรี ประกอบด้วยน้า 92.1กรัม โปรตีน 2.7กรัม ไขมัน 0.5กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.8กรัม เส้นใย 1.6กรัม แคลเซียม 245มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.2มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 2,512ไมโครกรัม วิตามินเอ 419iu. วิตามินบี1 0.05มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.08มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0มิลลิกรัม วิตามินซี 147มิลลิกรัม

ปุ๋ยและธาตุอาหารที่จำเป็นต่อผักคะน้า
ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยทาจากวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สาหรับการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน(บางประเภท) มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ และแร่ธาตุต่าง ๆ นามาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก กลับกอง จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

คลิปโดย : Hunberry z.
คลิป ติดตาม : https://www.youtube.com/watch?v=AeAg_wCuan8

Show More
Top