การปลูกมะเขือยาว มะเขือเปราะ (แบบละเอียด)
มะเขือเปราะ เป็นผักพื้นบ้านที่หลาย ๆ คุ้นกันอยู่แล้ว เพราะนำมาทำอาหารได้หลากหลายเมนู และเป็นเครื่องเคียงในอาหาร แถมยังใช้ตกแต่งจานอาหารให้ดูน่าทานด้วย นอกจากรสชาติที่เป็นที่ถูกปากแล้วมะเขือเปราะยังมีประโยชน์มากมาย
มะเขือเปราะ เป็นพืชวงศ์ SOLANACEAE หรือวงศ์มะเขือ เช่นเดียวกันกับมะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือพวง มะเขือเทศ มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย โดยมะเขือเปราะในภาษาอังกฤษแถบเอเชีย จะเรียกว่า Green Brinjal หรือในอินเดีย จะเรียกว่า Kantakari แต่ฝั่งอเมริกาจะคุ้นเคยในชื่อ Eggplant มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเผลอเรียกแค่ Eggplant อย่างเดียวเชียวนะ เพราะถ้าเรียกแค่นั้น อาจสร้างความสับสนพาลให้คิดว่าเป็นมะเขือม่วง หรือมะเขือยาวได้ เนื่องจากมะเขือหลาย ๆ ชนิด มักเรียกว่า Eggplant เกือบทั้งหมด ดังนั้น หากจะพูดถึงมะเขือเปราะ ก็ให้เติมคำว่า Thai เป็น Thai Eggplant ไปด้วย จะทำให้เข้าใจได้มากกว่านั่นเอง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ
มะเขือเปราะ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง สีเขียว ผิวเรียบ ไม่มียาง มีรากเป็นรากแก้ว ทรงกลม สีน้ำตาล แทงลงดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ทรงหัวลูกศร ปลายแหลม โคนโค้งมนคล้ายติ่งหู กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13 เซนติเมตร มีดอกออกตามซอกใบ สีม่วงบ้าง สีขาวบ้าง โดยกลีบดอกจะเชื่อมติดกัน แต่ปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 แฉก รูปกงล้อ ไม่มีกลิ่น
ส่วนผลของมะเขือเปราะจะมีลักษณะกลม ผลเรียบ เนื้อแน่นกรอบฉ่ำน้ำ โดยผลอ่อนจะมีสีเขียวอ่อน หรือบางพันธุ์อาจมีสีขาว สีเหลือง สีม่วง ผลแก่จะมีสีเหลือง เนื้อในผลมีลักษณะเป็นเมือก และมีเมล็ดสีเขียวข้างในกว่า 60 เมล็ด จะนำมาทานสด ๆ หรือนำไปปรุงสุกก็อร่อยเหมือนกัน
สภาพพื้นที่ ในการเหมาะกับการปลูกมะเขือยาว และมะเขือเปราะ
ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำและสะดวกต่อการนำมาใช้ตลอดฤดูปลูก ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
ลักษณะดิน
– ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-6.8
สภาพภูมิอากาศ
– แสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 21-23 องศาเซลเซียส ถ้าร้อนจัดจะทำให้ดอกร่วง
พันธุ์ที่นิยมปลูก
มะเขือยาว
มะเชือยาวในบางท้องถิ่นถูก เรียกว่า มะแขว้ง หรือ มะเขือฝรั่ง
– เขือยาวสีม่วงลูกผสม คาซินโน : มีความแข็งแรง ทนต่อโรคได้ดี ผลดก ผลสีม่วงเข้ม ผิวเรียบเป็นมันวาว เนื้อแน่นไม่นิ่ม ความยาวผลประมาณ 20 ถึง 25 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 100 วัน
– มะเขือยาวสีเขียวลูกผสม โทมาฮอค : แข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี พุ่มต้นกว้างปานกลาง เจริญเติบโตได้เร็ว ข้อถี่ ผลดก ตรง ยาวประมาณ 30 ถึง 35 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมัน คอผลใหญ่ ปลายผลป้าน ผลไม่นิ่มง่าย ให้น้ำหนักดี
– มะเขือยาวสีม่วงลูกผสม มัสแตง : ทนต่อโรค ผลดก ให้ผลผลิตได้นาน ผลสีม่วง ผิวเรียบเป็นมัน ความยาวประมาณ 25 ถึง 30 เซนติเมตร รูปทรงดีขนาดสม่ำเสมอกันทั้งผล คอผลใหญ่ ปลายผลมน เนื้อแน่น
– มะเขือยาวพันธุ์ทอร์นาโด : เป็นพันธุ์ลูกผสม มีความแข็งแรง ทนทานต่อโรค ผลสีเขียวมีขนาดยาวประมาณ 25 ถึง 30 เซนติเมตร ผลอวบ ผิวเรียบ มัน อายุการเก็บเกี่ยว 100 วัน
– มะเขือยาวพันธุ์อะโกร่า : เป็นพันธุ์ลูกผสมสีม่วง แตกแขนงดี เนื้อหนา เมล็ดน้อย ปลูกได้ทั้งปี อายุเก็บเกี่ยวเพียง 65 วัน หลังการย้ายกล้าปลูก ให้น้ำหนักผลประมาณ 300 ถึง 700 กรัม

มะเขือเปราะ
– พันธุ์ผสมเปิด พจ.1, พจ.5 หรือพันธุ์พื้นเมือง เช่นพันธุ์ค้างกบ พันธุ์เจ้าพระยา เป็นต้น พันธุ์ลูกผสม เช่น พันธุ์น้ำหยดหรือหยาดทิพย์ พันธุ์หยดพระยา เป็นต้น
การปลูก
การเตรียมดิน
– ไถตากดินไว้ประมาณ 7 วัน แล้วไถพรวนอีก 182 ครั้ง
– ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดี อัตรา 2-4 ตัน/ไร่
วิธีการปลูก
การเพาะกล้า
– เตรียมแปลงเพาะกล้ากว่าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร
– ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 40-50 กิโลกรัม และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 120 กรัมต่อแปลง คลุกเคล้าให้เข้ากันเพื่อให้ดินร่วนซุย
– ใส่เมล็ด 50-100 กรัม ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่
– โรยเมล็ดเป็นแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร กลบดินบางๆ เสมอผิวดิน และถอนแยกให้ต้นมีระยะห่าง 2-3 เซนติเมตร
การปลูก
– เตรียมแปลงปลูก กว้าง 75 เซนติเมตร สูง 25-30 เซนติเมตร มีร่องน้ำระหว่างแปลง 30 เซนติเมตร
– ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่
– ปลูกด้วยต้นกล้าที่มีอายุ 25-30 วัน ลักษณะสมบูรณ์ปราศจากโรค
– ปลูกแถวเดี่ยวในระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร
– คลุมแปลงปลูกด้วยเศษพืชที่ปราศจากโรค แมลง และเมล็ดวัชพืช เช่น ฟางข้าว
การดูแลรักษา หลังการปลูก
การให้ปุ๋ย
– หลังปลูกโรยปุ๋ยข้างแถวปลูกทั้ง 2 ข้าง แล้วพรวนดินกลบโดยใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 15 วัน และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่หลังปลูก 30 วัน
การให้น้ำ
– ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ จะให้โดยวิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสม
– ควรให้น้ำทันทีหลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว
การป้องกันและแก้ไข โรคและแมลงศัตรูมะเขือ
อ่านบทความ โรคมะเขือ และบทความ แมลงศัตรูมะเขือม่วง
การใช้สารป้องกันกำจัดโรคมะเขือยาว มะเขือเปราะ
โรคใบจุดดวง
การป้องกันกำจัด : ใช้ยาไอโพรไดโอน (50% WP) อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบโรค (หยุดการใช้สาร 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
โรคใบไหม้
การป้องกันกำจัด : ใช้เมตาแลคซิล+แมนโคเซ็บ (72% WP) อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบโรค (หยุดการใช้สาร 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
โรคเหี่ยว
การป้องกันกำจัด : ถอนวัชพืชใต้โคนต้น และปรับปรุงดินด้วยปูนขาว อัตรา 200-400 กิโลกรัม/ไร่ คลุกพรวนดินใต้โคนต้น
โรคใบด่าง
การป้องกันกำจัด : ควรเลือกใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรคนี้ได้ดี
การใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะเขือยาว มะเขือเปราะ
เพลี้ยไฟฝ้าย
การป้องกันกำจัด :
– ใช้อิมิตาโคลพริด (5% EC) อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดที่ยอดและผลอ่อนถูกทำลาย 5% พ่นซ้ำตามความขจำเป็น (หยุดการใช้สาร 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
– ใช้ฟิโปรนิล (5% SC) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาดที่ยอดและผลอ่อนถูกทำลาย 5% พ่นซ้ำตามความขจำเป็น (หยุดการใช้สาร 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
เพลี้ยจักจั่นฝ้าย
การป้องกันกำจัด :
– ใช้ไดโนทีฟูแรน (10% WP) อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัวต่อใบ พ่นซ้ำตามความจำเป็น (หยุดการใช้สาร 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
– ใช้อีโทเฟนรอกซ์ (20% EC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัวต่อใบ พ่นซ้ำตามความจำเป็น (หยุดการใช้สาร 3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
– ใช้อะเซททามิพริด (2.85% EC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบตัวอ่อนเพลี้ยจั๊กจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัวต่อใบ พ่นซ้ำตามความจำเป็น (หยุดการใช้สาร 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
หนอนเจาะผลมะเขือ
การป้องกันกำจัด :
– ใช้เบต้าไซฟลูทริน (2.5% EC) อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพอยอดอ่อนเหี่ยว 3-5% หรือผลถูกทำลาย 5-10% พ่นซ้ำตามความจำเป็น (หยุดการใช้สาร 14 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
– ใช้คาร์โบซัลแฟน (20% EC) อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพอยอดอ่อนเหี่ยว 3-5% หรือผลถูกทำลาย 5-10% พ่นซ้ำตามความจำเป็น (หยุดการใช้สาร 15 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว)
การเก็บเกี่ยวมะเขือ
– เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อมีอายุประมาณ 80-100 วัน หรือ 60-85 วันหลังย้ายปลูก และทยอยเก็บไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวหมดโดยเลือกเก็บผลอ่อน แต่ไม่ควรจะเป็นผลอ่อนเกินไป เพราะจำทำให้ได้น้ำหนักน้อย และเก็บไม่ได้นาน
เคล็ดลับการเก็บเกี่ยวมะเขือ
– หลังเก็บเกี่ยว ให้นำเข้าร่มทันที ไม่ควรวางไว้กลางแดดและไม่ควรวางบนพื้นผิวดินโดยไม่มีวัสดุรองรับ
– บรรจะในถุงพลาสติกที่เจาะรูรอบด้าน หรือบรรจุในตะกร้า หรือเข่งที่บุด้วยวัสดุที่ป้องกันการขูดขีด เช่น ใบตอง ไม่ควรบรรจุปริมาณมากเกินเพราะจะทำให้มะเขือบอบช้ำเสียหาย