วิธีการห่อผลไม้ ช่วยป้องกันแมลง ช่วยเร่งการเติบโต

วิธีการห่อผลไม้ ช่วยป้องกันแมลง ช่วยเร่งการเติบโต

ในการป้องกันแมลงวันผลไม้ไม่ให้มาวางไข่เพื่ออาศัยเป็นแหล่งอาหารของตัวอ่อน มีหลายวิธี ผมเคยมีประสบการณ์ในการป้องกันในผลมะม่วง เคยทอดลองทำมาแล้วหลายวิธี เช่น การใช้สารล่อ การพ่นโปรตีนอาหารผสมยาฆ่าแมลง และการห่อผล เป็นต้น จากประสบการณ์พบว่าการห่อผลมะม่วง เป็นวธีป้องกันที่ดีที่สุด (สำหรับผม) เพราะป้องกันการทำลายของแมลงวันผลไม้ได้ 100 % แต่มีเงื่อนไข ต้องห่อผลก่อนที่จะแก่ก่อนที่แมลงวันผลไม้จะมาวางไข่ และต้องตัดแต่งเพื่อบังคับทรงพุ่มไม่ให้สูงเกินไป

ถุงห่อผลไม้ในบ้านเรามีบทบาทมากขึ้นเป็นลาดับ เนื่องจากการใช้ถุงห่อช่วยให้ผิวผลไม้ดูสวยสะอาด ช่วยลดการทาลายของแมลง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยว่าถุงห่อผลไม้ช่วยเพิ่มน้าหนักและขนาดของผลไม้ได้ด้วย ผลไม้ที่มีการใช้ถุงห่อหรือวัสดุห่อจานวนมากในอดีตจนปัจจุบันก็คือ ฝรั่ง ชมพู่กระท้อนอย่างชมพู่เพชรของ จ.เพชรบุรีสมัยก่อนจะมีการใช้ถุงกระดาษปูนซีเมนต์ทาการห่อทุกช่อทุกผล กระท้อน เมืองนนท์ยุคดั้งเดิมก็จะมีการใช้ใบตองแห้งห่อแล้วผูกหัวผูกท้ายด้วยเชือกกล้วย ชาวสวนยุคนั้นทราบว่าการห่อผลทาให้ผลไม้ดูสีนวลน่ากิน ไม่มีหนอนแมลงวันทาลายและขายได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ห่อผลไม้มีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้หากเป็นชมพู่ก็จะมีการใช้ถุงพลาสติกเจาะรูเล็ก ๆ ที่มุมถุงเพื่อระบายอากาศ การห่อชมพู่ด้วยถุงพลาสติกนี้จะเริ่มห่อหลังชมพู่ติดผลและเริ่มตั้งทรงเป็นทรงระฆังก่อนที่แมลงวันทองจะเข้าวางไข่หลังห่อผลแล้วประมาณ 30 วัน ก็จะสามารถเก็บผลขายได้

สำหรับฝรั่งจะมีการห่อโดยมีกระดาษหนังสือพิมพ์อยู่ภายในหนึ่งชั้นและถุงพลาสติกอยู่ด้านนอกกระดาษหนังสือพิมพ์ทาหน้าทีป้องกันแสงแดด (หมึกพิมพ์หนังสือพิมพ์อาจเป็นอันตรายได้) และช่วยให้ฝรั่งมีผิวขาวนวล ถุงพลาสติกช่วยป้องกันแมลงวันทอง คราใดที่เข้าไปยังสวนฝรั่งจะพบถุงห่อฝรั่งทั้งหนังสือพิมพ์และพลาสติกขาวโพลนเต็มสวน

การเลือกใช้ถุงห่อผลมะม่วง ความจริงการห่อผลมะม่วงน้าดอกไม้สีทอง จะช่วยรักษาผิวของผลมะม่วงได้ดีและสวยไร้ริ้วรอย ป้องกันการเข้าทาลายของโรคและแมลงได้โดยเฉพาะแมลงวันทอง และยังช่วยลดปริมาณของสารเคมีที่อาจจะฉีดพ่นถูกผลมะม่วงได้อีกด้วย ในการห่อผลมะม่วงน้าดอกไม้สีทอง ให้เลือกห่อตั้งแต่ผลมีขนาด ประมาณ 2 นิ้วครึ่ง (ใหญ่กว่าไข่ไก่เล็กน้อย) โดยจะห่อนานประมาณ 40 วัน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ หรือถ้าห่อขนาดผล 3 นิ้ว จะห่อนานประมาณ 1 เดือน ซึ่งในขณะนั้นความแก่ของผลมะม่วงจะอยู่ที่75-80% แต่ถ้าห่อผลนานเกิน 45 วัน ขึ้นไป ผิวมะม่วงน้าดอกไม้สีทองจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองอ่อนออกขาวหรือที่ชาวสวนเรียกว่า “มะม่วงเผือก” แต่เดิมการห่อผลมะม่วงจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์มักจะเกิดปัญหาว่าหมึกพิมพ์จากกระดาษหนังสือพิมพ์ติดเลอะเทอะบนผิวมะม่วงปัจจุบันมีทางเลือกในการใช้ถุงห่อแบบใหม่ คือการใช้ถุงคาร์บอนหรือมีการจาหน่ายอยู่หลายเกรด ราคาถูกแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพของถุงห่อด้วย

การห่อผลเทคนิคง่ายๆ
ที่เกษตรกรใช้ในการเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย และให้ผลมีสีสวยตรงตามสายพันธุ์และความต้องการของตลาด สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกใช้ถุงห่อผลไม้คือ เลือกให้ตรงกับชนิดของผลไม้ เลือกถุงห่อที่มีคุณภาพ และนำไปห่อให้ถูกวิธี

มะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์สี่ และสีทอง
ห่อเพื่อให้สีผิวเหมือนสีทอง ตรงตามสายพันธุ์ เพื่อป้องกันแมลง รอยขีดข่วน ต้องเลือกถุงที่ป้องกันแสงได้ดี เป็นถุงกระดาษด้านนอกสีน้ำตาล ผิวด้านในเคลือบวัสดุกันแสงสีดำ

มะม่วงเขียวเสวย
สีผิวต้องเขียวสวย ต้องเลือกถุงกระดาษห่อสีขาว เพราะจะได้สังเคราะห์แสงให้ผิวมีสีเขียว

มะม่วงมหาชนก
ต้องใช้ถุงกระดาษสีขาว และมีช่องให้แสงเข้ามากพอ เพราะผลไม้ชนิดนี้ต้องการแสงมาก จึงทำให้ผิวเป็นสีแดงเรื่อตามธรรมชาติ

ชมพู่ทับทิมจันทร์
ต้องมีผิวสีแดง ยิ่งแดงยิ่งดี ต้องใช้ถุงกระดาษสีขาวและด้านข้างต้องมีแผ่นพลาสติกใสเพื่อให้แสงเข้าได้ ตัดแต่งผลให้เหลือประมาณ 4-5 ผลต่อช่อ เริ่มห่อผลเมื่อผลอายุประมาณ 14 วันหลังไหมร่วง โดยใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วชนิดบาง สีขาว ขนาด 7 x 15 นิ้ว ตัดมุมก้นถุงเล็กน้อยเพื่อระบายน้ำ

สับปะรด
จะห่อแบบเปิดรูกึ่งกลางด้านบน และเปิดรูด้านล่างเต็มตามส่วนกว้างของถุง เพื่อป้องกันแสงแดดไม่ผิวไหม้

กล้วยหอมทอง
ห่อเพื่อกันแมลง ห่อตามลักษณะรูปร่างของกล้วย โดยวิธีสวมหัวเปิดท้าย แล้วก็ผูกหัวผูกท้าย

ส้มโอ
ควรห่อเมื่อผลส้มโออายุ 2-3 เดือน ใช้ถุงกระดาษสีขาวกันน้ำ และระบายอากาศดี ขนาดใหญ่พอจะรับกับขนาดของผลที่โตขึ้น เพราะใช้ระยะเวลาการห่อ 4-5 เดือน

เมล่อน
พืชล้มลุกที่มาแรงสุดๆในยุคนี้ กรณีที่ปลูกนอกโรงเรือนเพื่อป้องกันเเมลงเลือกถุงกระดาษห่อสีขาว

วิธีการและลำดับการห่อง่ายๆ ดังนี้
เริ่มห่อผลเมื่อผลอายุประมาณ 50-60 วันหลังดอกบาน โดยใช้ถุงกระดาษสีน้ำตาลขนาด 6 x 12 นิ้ว ถุงห่อผลไม้ที่เกษตรกรนิยมใช้ห่อผลมะม่วง เป็นถุงชนิดที่เรียกว่า “Protective growing fruit multiple-bag” เป็นถุงกระดาษ 2 ชั้น ถุงชั้นนอก มีผิวด้านนอกสีน้ำตาล มีรอยปรุเป็นแนวยาวทั่วถุง มีลวดรัด ผิวด้านในเคลือบสีดําถุงชั้นใน เป็นถุงสีดําทําจากกระดาษเคลือบขี้ผึ้ง (paraffin paper) ซึ่งถุงชั้นในนี้อาจเป็นสีใดก็ได้ ขึ้นกับชนิดของผลไม้ที่ต้องการแสงในอัตรา ชนิด และสีใดผ่านเข้าไปในถุงสําหรับการพัฒนาการของสีผิวผล (ที่ผลิตเป็นการค้าในปัจจุบัน เป็นถุงห่อผลไม้ที่มีถุงชั้นในสีดํา และสีแดง) ถุงห่อผลไม้ที่ใช้ห่อผลมะม่วงมักใช้ชนิดที่มีถุงชั้นในสีดํานําเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน มีทั้งชนิดที่มีและไม่มีลวดรัด แต่ถุงชั้นนอกไม่มีรอยปรุ

ห่อผลมะม่วงโดยผูกเพียงครั้งเดียว ถุง 1 ใบ ห่อจำนวน 1 ผล หรือ 2 ผล (หากผลมีขนาดใกล้เคียงกัน) สามารถป้องกันการทำลายของแมลงวันผลไม้ได้แรมเดือน หากบังคับทรงพุ่มไม่สูงจนเกินไป สามารถยืนห่อผลจากพื้นดินได้ แรงงาน 1 คน สามารถห่อได้วันละ 1,000 – 1,500 ใบ

Top