(คลิป) DIY วิธีทำเตาอเนกประสงค์ – ไอเดียทำเอง จากปูนซีเมนต์ : วีดีโอ เกษตร

4.23K Views

(คลิป) DIY วิธีทำเตาอเนกประสงค์ – ไอเดียทำเอง จากปูนซีเมนต์ : วีดีโอ เกษตร

DIY วิธีทำเตาอเนกประสงค์ – ไอเดียทำเอง จากปูนซีเมนต์

วิธีการทำจะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปดูคลิปด้านบนได้เลยครับ

+++ ความรู้เพิ่มเติม +++

ปูนมอร์ตาร์

ปูนทนไฟ (Refractory Mortars) คือวัสดุทนไฟที่ใช้ก่ออิฐทนไฟแต่ละก้อนให้ยึดติดกันช่วยให้โครงสร้างสามารถคงรูปร่างอยู่ได้ และช่วยป้องกันการรั่วไหลและวัตถุดิบภายในเตา มีคุณสมบัติทนทานต่ออุณหภูมิสูงได้ เช่นเดียวกับวัสดุทนไฟชนิดอื่น ๆ

ประเภทปูนทนไฟ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1. ปูนทนไฟ ชนิดที่ต้องให้ความร้อนจึงจะแข็งตัว (HEAT SETTING MORTARS) เป็นปูนทนไฟชนิดผงแห้ง (DRY TYPE) ซึ่งการใช้งงานต้องนำไปผสมน้ำตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ข้างถุงก่อนการใช้งาน ปูนทนไฟชนิดนี้จะให้ความแข็งแรงสมบูรณ์เมื่อได้รับความร้อนสูงเกินกว่า 1000 องศาเซลเซียล ตัวอย่างปูนทนไฟชนิดนี้ได้แก่ MORTAR 30-HM, MORTAR 43-HM,และ MORTAR 70-HM เป็นต้น

2. ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง (AIR SETTING MORTARS) ปูนทนไฟชนิดนี้มีทั้งชนิดผงแห้ง (DRY TYPE) ซึ่งต้องผสมน้ำก่อนนำมาใช้งาน และชนิดเปียก (DRY TYPE) ซึ่งผสมเสร็จพร้อมใช้งานได้ทันที ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้องนี้จะเกิดปฏิกิริยาให้ความแข็งแรงได้เอง ณ.อุณหภูมิห้อง ตัวอย่างปูนทนไฟ ชนิดนี้ได้แก่ MORTAR 30-AM(W), MORTAR 43-AM(W), MORTAR 43-AM(D) และ MORTAR 80-PM เป็นต้น

หลักการเลือกใช้ปูนทนไฟ
1. พิจารณาว่าอุณหภูมิใช้งานสูงถึง 1000 องศาเซลเซียล หรือไม่ หากไม่ถึงควรใช้ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง

2. พิจารณาว่าตำแหน่งที่นำปูนทนไฟไปใช้งานต้องรับน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวหรือไม่ เช่น หม้อเผาปูนซีเมนต์,รถเตา,เป็นต้น กรณีที่รับน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวควรใช้ปูนทนไฟชนิดให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิห้อง

3. ควรเลือกปูนทนไฟให้เหมาะสมกับคุณภาพของอิฐทนไฟ โดยสามารถดูได้จากตารางแสดงคุณสมบัติ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับอุณหภูมิการใช้งานเป็นหลัก

4. พิจาณาความสะดวกในการทำงาน ซึ่งปูนทนไฟชนิดเปียก (WET TYPE) จะให้ความสะดวกและประหยัดเวลาในการเตรียมมากกว่า

5. ต้องสามารถทนต่อปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเตาเผานั้นได้ด้วย

การเตรียมปูนทนไฟ
การเตรียมปูนทนไฟชนิดแห้ง (DRY TYPE MORTARS)

1. ตวงน้ำสะอาดที่ใช้ผสมปูนทนไฟตามเปอร์เซนต์นำที่กำหนดไว้ที่ถุง

2. โรยผงปูนทนไฟลงไปในถังผสมทีละน้อยจนหมด ซึ่งในขณะที่โรยปูนทนไฟให้เปิดสว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนอยู่ตลอดเวลา

3. กวนต่ออีกจนกว่าปูนทนไฟจะเป็นเนื้อเดียวกันและเหนียวพอเหมาะกับการใช้งาน

4. ถ้าเป็นชนิดแห้งแข็งตัวที่อุณหภูมิห้องควรหมักทิ้งไว้ 24 ชม. และต้องกวนอีกครั้งก่อนนำไปใช้งาน

การเตรียมปูนทนไฟชนิดเปียก (WET TYPE MOTARS)

1. เปิดปากถังใช้สว่านไฟฟ้าติดใบพัดกวนปูนทนไฟให้ทั่วโดยใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที

2. หากเนื้อปูนทนไฟข้นเกินไปให้เติมน้ำสะอาดปรับความหนืดของปูนทนไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน และต้องกวนปูนทนไฟนั้นให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนนำไปใช้งาน

วิธีการทดสอบความเหนียวที่เหมาะสมของปูนทนไฟ
การทดสอบความเหนียวของปูนทนไฟทำได้โดยใช้เกรียงตักปูนทนไฟขึ้นมาแล้วใช้เกรียงลงในแนวดิ่ง ถ้าปูนทนไฟยังคงติดเกรียงอยู่เมื่อสลัดเบา ๆ ปูนทนไฟจะหลุดออกมาจากเกรียง แสดงว่าปูนทนไฟ มีความเหนียวเหมาะสมกับการใช้งานแต่ถ้าปูนทนไฟน้นไหลหลุดออกจากเกรียงทันที แสดงว่าปูนทนไฟนั้นเหลวเกินไป จะทำให้เกิดการหดตัวและมีรอยร้าวเมื่อปูนทนไฟแห้ง ถ้าผสมแห้งเกินไปจะเกิดรอยร้าว และจะได้งานที่มีความหนาของปูนไฟไม่เรียบสมำเสมอกัน

การใช้งาน
1. ในการเตรียมปูนทนไฟทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ ควรกวนให้เป็นเนื้อเยวกันอีกครั้งก่อนนำมาใช้งาน

2. ฉาบปูนทนไฟลงบนผิวอิฐทนไฟที่จะนำมาก่อทั่วทั้งหน้าอิฐ ให้มีความหนาไม่เกิน 2 mm.

3. ใช้ฆ้อมยางปรังแต่งระดับด้วยการตีอิฐทนไฟให้อยู่ในระดับเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ปูนทนไฟเยิ้มออกมาตามแนวก่อเล็กน้อย

การอุ่นเตา
หลังจากที่ได้ก่อเตาเรียบร้อยแล้ว ควรอ่นเตาตามอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิดังกราฟ เพื่อไม่ให้เกิดการแตกร้าวบริเวณแนวของปูนทนไฟ เนื่องจากการหดตัวอย่างรวดเร็ว

ช่วงที่ 1 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 องศาเซลเซียล/ชั่วโมง

ช่วงที่ 2 รักษาอุณหภูมิที่ 560 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 5 ชั่วโมง

ช่วงที่ 3 ปรับอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 30-50 องศาเซลเซียล/ชั่วโมง จนถึงอุณหภูมิใช้งาน

ที่มา Youtube Channel : Creative Cement
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=nIl6g5PSrAs

Show More
Top